messager
 
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี call ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
check_circle ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี
ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบน ระหว่างเส้นละติจูด ๑๔ องศา ๔๓ ลิปดา ถึง ๑๕ องศา ๖ ลิปดาเหนือ เส้นลองติจูดที่ ๑๐๐ องศา ๑๑ ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘๒๒.๔๗๘ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ทิศใต้ ติดต่ออำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านบริเวณตอนใต้ของจังหวัดเหมาะสำหรับการทำกสิกรรม สิงห์บุรีเป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดตะกอนการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลานาน มีแม่น้ำไหลผ่าน ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่นๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัย ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขา ป่าไม้ และไม่มีร่าตุที่สำคัญ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม ฤดูหนาวตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - มกราคม การคมนาคม จังหวัดสิงห์บุรี มีทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดสามารถเดินทางได้โดยสะดวก ถนนสายหลักที่สำคัญได้แก่ ๑. หมายเลข ๓๒ สายเอเชียแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทอง ถึง จังหวัดสิงห์บุรี ๒. หมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง - ชัยนาท เป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ผ่านพระนครศรีอยุธยา -อ่างทอง – สิงห์บุรี - ชัยนาท 1.หมายเลข ๓๑๑ สายลพบุรี - สิงห์บุรี เชื่อมต่อจากทางหลวง ๓๐๙ ที่จังหวัดสิงห์บุรี 2.หมายเลข ๑๑ จากอำเภออินทร์บุรี - พิษณุโลก เป็นเส้นทางผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 3.หมายเลข ๓๐๓๙ สายสุพรรณบุรี - สิงห์บุรี โดยผ่านเส้นทางด้านอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังมีเส้นทางแยกจากทางหลวง การบริการรถโดยสารประจำทางของจังหวัดสิงห์บุรี มีให้บริการ ๒ ประเภท คือ รถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๒ และรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น ๑ ซึ่งมีเส้นทางหลัก คือ กรุงเทพ - สิงห์บุรี , กรุงเทพ - อำเภอวัดสิงห์ และกรุงเทพ - อำเภอหันคา ซึ่งผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ประชาชน จากประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี รวม ๒๑๓,๒๑๖ คน แยกเป็นชาย จำนวน ๑๐๑,๗๔๓ คน และหญิง จำนวน ๑๑๑,๔๗๓ คน การเกษตร จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่ทั้งหมด ๕๑๔,๐๔๙ ไร่ มีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ๔๒๙,๕๑๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕๕ ของพื้นที่จังหวัด โดยพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๔๑๔,๒๓๒ ไร่ (ร้อยละ ๘๐.๕๘) จำแนกเป็นที่นา ๓๗๕,๖๖๓ ไร่ (ร้อยละ ๘๑.๐๓) พื้นที่ปลูกพืชไร่ ๑๐,๓๐๗ ไร่ (ร้อยละ ๒.๔๙) พื้นที่สวน ๒๕,๕๔๒ ไร่ (ร้อยละ ๖.๑๗) พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ๙๒๑ ไร่ (ร้อยละ ๐.๒๒) และพื้นที่ประมงเพาะเลี้ยง ๑,๗๙๙ ไร่ (ร้อยละ ๐.๔๓) เขตการปกครอง จังหวัดสิงห์บุรีแบ่งการปกครองออกเป็น ๖ อำเภอ ๔๓ ตำบล ๓๖๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๒ เทศบาลเมือง ๖ เทศบาลตำบล และ ๓๓ องค์การบริหารส่วนตำบล ดังแสดงในตาราง แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖
ตาราง แสดงเขตการปกครอง

การปศุสัตว์
ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์ (ตัว) จำแนกเป็นรายอำเภอ พ.ศ. ๒๕๕๖ แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสิงห์บุรี มิถุนายน ๒๕๕๖
ตารางแสดงจำนวนปศุสัตว์

ข้อมูล
การประมง การผลิตประมง เป็นแหล่งผลิตด้านประมงน้ำจืดที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและยังเป็นแหล่งผลิตปลาช่อนแม่ลาที่มีชื่อเสียง เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยที่สุด ปี ๒๕๕๔ มีครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน ๑,๗๗๒ ครัวเรือน รวม ๒,๔๐๓ บ่อ คิดเป็นเนื้อที่ ๑,๘๗๘.๔๑ ไร่ จำนวน ๗๓๐ กระชัง คิดเป็นเนื้อที่ ๑๕.๖๐ ไร่ แหล่งที่มาของข้อมูล : จังหวัดสิงห์บุรี เมษายน ๒๕๕๖ อุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (สะสม) ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวนทั้งสิ้น ๒๗๑ โรงงาน เงินลงทุนรวม ๑๖,๙๔๘.๖๖๓ ล้านบาท และมีจำนวนคนงาน ๑๓,๓๒๒ คน อุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด ๓ อันดับแรกของจังหวัดสิงห์บุรี คือ 1.อุตสาหกรรมอโลหะ ประกอบด้วยการผลิต แปรรูปหินแกรนิต และหินอ่อน เป็นหลักรองลงมาได้แก่ ผลิตคอนกรีตมวลเบา ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และผลิตอิฐดินเผา ปัจจุบันมีโรงงานทั้งสิ้น ๕๑ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๔๙๔ ล้านบาท คนงาน ๑,๖๑๘ คน 2.อุตสาหกรรมกระดาษ ประกอบด้วย การผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ ผลิตกระดาษชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น ๒ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๒๔๐ ล้านบาท คนงาน ๕๑๒ คน 3.อุตสาหกรรมพลาสติก ประกอบด้วยการผลิตทำของใช้จากพลาสติก และผลิตพลาสติกทุกชนิดรองลงมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือ เคลือบด้วยพลาสติก และทำขวดพลาสติกบรรจุยา ปัจจุบันมีดรงงานทั้งสิ้น ๑๓ โรงงาน เงินลงทุน ๓,๑๗๑ ล้านบาท คนงาน ๘๔๐ คน แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสิงห์บุรี พฤษภาคม ๒๕๕๗